วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

AI613 Lecture: Class 03 (22/11/2010)

ในคลาสนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ TPS (Transaction Processing System) ซึ่งก็คือระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง
ระบบสารสนเทศแบ่งตามลักษณะงานที่ระบบสนับสนุน
  • ระบบประมวลผลรายการการเปลี่ยนแปลง  (Transaction Processing System)
  • ระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการ (Management Information System)
  •  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
  •  ระบบสนับสนุนผู้บริหาร  (Executive Support System)
  • ระบบอัจฉริยะ (Intelligence System)
TPS (Transaction Processing System) หรือ ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง
ปัจจุบันคนนำ IT มาใช้กันมากขึ้นเพราะมีขนาดเล็กลง ราคาถูก และใช้งานง่าย อีกทั้งคนก็มีความสามารถในการใช้ ซึ่งการประยุกต์ใช้ IT ในธุรกิจครั้งแรก เริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลการดำเนินงานของธุรกิจ เช่น รายการซื้อขาย เป็นต้น TPS เป็นระบบที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากเปรียบเสมือนศูนย์กลางของการทำธุรกิจ ทั้งยังเป็นรากฐานของระบบอื่นๆด้วย
โดยระบบนี้จำเป็นต้องใช้ระบบใหญ่พอสมควร เพื่อให้สามารถเก็บฐานข้อมูลจำนวนมากได้ และจำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก นอกจากนี้ ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมาจากระบบนี้จะมีลักษณะที่มีโครงสร้างที่ชัดเจน รวมทั้งการทำงานไม่ค่อยมีความซับซ้อนในการคิดคำนวณ

วงจรของการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง
1.     เริ่มต้นจากการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ
2.     ระบบทำการประมวลผล ซึ่งมีรูปแบบการประมวลผลอยู่ 2 แบบคือ Real-time กับ Batch โดยการประมวลผลแบบ Real-time มีข้อดีคือ ข้อมูลจะถูกประมวลผลทันที แต่แบบ Real-time อาจไม่คุ้มค่าสำหรับการอัพเดทคลังสินค้าที่มีสินค้าเข้ามาตลอดเวลาเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่มีความจำเป็น ดังนั้น การเลือกรูปแบบการประมวลจึงต้องคำนึงถึงลักษณะของข้อมูลหรือธุรกิจด้วย
3.     ในระหว่างการประมวลผล ลูกค้าอาจจะมีสอบถามข้อมูล อาจทำระบบให้สามารถใส่ keyword ใดๆลงไปแล้วออกมาเป็นรายงานได้ หรือมีการใช้ Extranet ในการติดต่อระหว่างสาขาเพื่อตรวจสอบว่าสินค้าอยู่ที่สาขาใดบ้าง
4.     นอกจากการสอบถามข้อมูลแล้ว ยังมีการอัพเดทฐานข้อมูลอยู่เป็นระยะๆด้วย ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องและความเป็นปัจจุบันของข้อมูลด้วย
5.     หลังจากการประมวลผลข้อมูลแล้ว สามารถที่จะแสดงผลออกมาเป็นรายงานได้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลหรือใช้งานต่อไป

วัตถุประสงค์สำคัญของ TPS คือ เพื่อตอบคำถามที่เกิดขึ้นประจำวัน ติดตามรายการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร และเพื่อผลิตและเตรียมสารสนเทศสำหรับระบบประเภทอื่นๆ ซึ่งผู้ใช้ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง (TPS) ได้แก่ ผู้ทำงานในระดับปฏิบัติการ ผู้ควบคุมดูแลระดับล่าง และผู้จัดการ ส่วนผู้บริหารระดับกลางจะเป็นผู้ใช้ MIS และระดับสูงจะใช้ ESS

ตัวอย่างการใช้ TPS ได้แก่
  • ตัวอย่างการใช้ TPS ในระบบสารสนเทศทางการตลาด เช่น การโฆษณาและการทำรายการส่งเสริมการขาย ด้วยการทำการตลาดเป้าหมายผ่านอีเมล์ คือดูว่าลูกค้ากลุ่มไหน ต้องการอะไร แล้วส่งรายการโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้องให้กับลูกค้าแต่ละกลุ่มทางอีเมล์ หรือการพัฒนาการช็อปปิ้งด้วยการนำ RFID Tag เข้ามาใช้ และมีเค้าท์เตอร์ให้ลูกค้าคิดเงินและชำระเงินด้วยตนเอง
  • ตัวอย่างการใช้ TPS ในระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ เช่น ในการสรรหาบุคลากร ปัจจุบันมีเว็บไซท์ที่ให้ผู้หางานกรอกประวัติลงในเว็บ แล้วระบบก็จะประมวลผลหางานที่เหมาะสมกับประวัติของแต่ละคนให้
  • บริการ Web Analytics Tools ของ Google จะช่วยวิเคราะห์ว่าลูกค้าเป็นใคร ดูพฤติกรรมของผู้ใช้เว็บ เช่น ลูกค้าใช้เวลาอยู่หน้าเว็บไหนมากที่สุด เป็นสินค้าอะไร ซึ่งเครื่องมือนี้จะเป็นประโยชน์กับ E-Commerce เพื่อเอาข้อมูลไปประมวลผล หากลูกค้าดูสินค้านี้ แล้วไปดูอีกสินค้าหนึ่ง ก็นำมาสร้างเป็นกลยุทธ์ Cross Sale ได้
  • บริการ e-Procurement ซึ่งทิสโก้ได้ใช้บริการ e-Procurement ในด้านการจัดซื้อ (ระบบไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย) ของ Officemate โดยทิสโก้สามารถเข้าไปดูสินค้าในระบบได้ ในการสั่งซื้อ ข้อมูล (ใบสั่งซื้อ) จะเข้ามาในระบบของ Officemate แล้วสินค้าก็จะมาส่งที่ทิสโก้โดยตรง
  • Cirque du Soleil - Saltimbanco Arena Show 2008 คณะละครสัตว์ที่ดังที่สุดในโลก ก็ใช้ระบบสารสนเทศมา share ข้อมูลด้านโลจิสติกเพื่อหาโลเกชั่นที่ดีที่สุดในการแสดง
  • Dartmouth-Hitchcock Medical Center ได้นำระบบ TPS เข้ามาใช้ ประกอบกับ handheld device ที่สามารถสแกนคลังยาว่าต้องการยาตัวไหน ปริมาณเท่าไร แล้วสั่งซื้อได้เลย ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรงมากขึ้น
  • การใช้ระบบแท็กซี่อัจฉริยะ เรียกแท็กซี่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ข้อดีคือ คนขับแท็กซี่ไม่ทราบว่าลูกค้าจะไปไหนตั้งแต่แรก ดังนั้นถ้าลูกค้าต้องการจะไปที่ไหน แท็กซี่ก็ต้องให้บริการโดยไม่มีสิทธิปฏิเสธ
 Presentation:
  • Virtualization เป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำให้เครื่องแม่ข่าย (Server) หนึ่งเครื่องมีระบบปฎิบัติ หรือระบบอยู่ภายในได้มากกว่าหนึ่งระบบ โดยมีวิธีการสร้างชั้น (Layer) ของการเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับระบบปฎิบัติการขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า Hypervisor หรือ Virtual Machine Monitor (VMM) เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการให้ระบบปฎิบัติการหลายๆ ตัวในเครื่องสามารถใช้งานทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory หรือ Hard disk ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องแม่ข่าย และบริหารจัดการระบบได้ดีขึ้นด้วย
  • RFID: Radio Frequency Identification ระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติ Auto- ID แบบไร้สาย (Wireless) ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวิธีการระบุเอกลักษณ์วัตถุ หรือตัวบุคคลโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ และมีขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระดับที่น่าเชื่อถือ ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใน Supply Chain Management จะมีการติด Tag ไว้ที่สิ่งของเพื่อใช้ในการระบุรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าคงคลัง วัตถุดิบ หรือส่วนประกอบต่างๆ และใน Logistics System ใช้ในการติดตามรถขนส่ง การติดตามสินค้า การตรวจสอบความถูกต้องของเส้นทางการขนส่ง เป็นต้น
  • How Information Technology can help Forensics Accounting? การบัญชีสืบสวน (Forensic Accounting) เป็นการใช้ทักษะด้านการเงินและแนวคิดทางด้านการสืบสวนสอบสวน เพื่อใช้ในการตรวจสอบ สืบสวน และสอบสวนข้อมูลทางการเงินเพื่อพิสูจน์หรือเพื่อหาหลักฐานประกอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทุจริต ในการสืบสวน Forensic Accounting โดยใช้หลักฐานประเภทดิจิตอล (Digital Evidence) นั้น มีสิ่งสำคัญที่ต้องระลึกเสมอคือ จะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลต่างๆให้รัดกุม ถูกต้อง (Establishment of Chain Custody) กล่าวคือ หลักฐานต่างๆที่เป็นอิเลกทรอนิกส์จะต้องจัดเก็บอยู่ในสถานที่ปลอดภัย และใช้ forensic software ในการพิสูจน์ Data Integrity ของข้อมูล หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งคือการรักษาข้อมูลต้นฉบับให้คงสภาพเดิม (Integrity) ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือถูกลบทิ้ง ดังนั้นการใช้เครื่องมือ Forensic Software จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งทั้งการเป็นเครื่องมือสืบสวนเมื่อเกิดข้อสงสัย และเป็นระบบการควบคุมที่ดีเพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น
  • Speech Recognition คือระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถแปลงเสียงพูด (Audio File) เป็นข้อความตัวอักษร (Text) โดยสามารถแจกแจงคำพูดต่างๆ ที่มนุษย์สามารถพูดใส่ไมโครโฟน โทรศัพท์หรืออุปกรณ์อื่นๆ และเข้าใจคำศัพท์ทุกคำอย่างถูกต้องเกือบ 100% โดยเป็นอิสระจากขนาดของกลุ่มคำศัพท์ ความดังของเสียงและลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ระบบจะรับฟังเสียงพูดและตัดสินใจว่าเสียงที่ได้ยินนั้นเป็นคำๆใด ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Hidden Markov Model

1 ความคิดเห็น:

  1. ยังไงรบกวน โพสท์ (comment) ในหัวข้อ

    "รบกวน นศ คลาส AI613 sem 2/2553 ทุกคนคะ"

    โดยโพสท์

    ชื่อ + นามสกุล + รหัส นศ + Username ลงในนี้ topic นั้นด้วยนะคะเพื่อความสะดวกในการเช็คงานต่างๆคะ

    ขอบคุณคะ

    ตอบลบ