วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

AI613 Lecture: Class 07 (21/12/2010)

M-commerce
ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้าถึงตัวเรามากขึ้น เช่น การทำธุรกรรมผ่านมือถือ Smartphone หรืออาจเรียกได้ว่า “Ubiquitous computing คือ คอมพิวเตอร์อยู่รอบตัวเราในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้ชีวิตเราดียิ่งขึ้น
Alan Kay เป็นผู้ริเริ่ม Mobile Computing และเป็นผู้คิดค้น Labtop เครื่องแรก
Tablet PC เป็นอุปกรณ์ที่มีมานานแล้ว เปลี่ยนจากการใช้คีย์บอร์ดเป็นการใช้ไม้จิ้มแทน แต่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามาเร็วเกินไป คนจึงยังไม่ยอมรับ
Value Added Attributes that Drive Development of M-Commerce
UbiquitySmartphone, tablet สามารถเข้าได้ทุกแห่ง พกพาไปได้ทุกที่
Convenience- อินเตอร์เน็ตพัฒนาด้านความเร็วไปอย่างมาก และราคาก็ถูกลง อีกทั้งไม่ว่าอยู่ที่ไหน ก็สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ผ่านมือถือ (อาจกลายเป็นสาธารณูปโภคได้ในอนาคตเช่นเดียวกับไฟฟ้า)
Instant Connectivity-พร้อมใช้งานได้ทันที แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ที่จะต้องใช้เวลาในการบูทเครื่อง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งาน internet เพียงอย่างเดียว
Personalization-สามารถเลือกปรับแต่งได้ตามความต้องการของตัวเอง
Localization of products & services-สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เอาข้อมูลมาเป็นของส่วนตัวได้ เช่น GPS
Widespread availability of mobile devices-ประชากรเกินกว่าครึ่งใช้มือถือ บางคนอาจมีมือถือมากกว่า 1 เครื่อง
No need for a pc-เป็นเครื่องมือในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
Handset culture-กลายเป็น culture ของคนปัจจุบัน เช่น Gen Y ซึ่งเน้นความฉับไวจึงใช้มือถือมากกว่าคอมพิวเตอร์
Declining prices, increased functionalities-ราคาถูกลงในขณะที่มีฟัก์ชั่นเพิ่มมากขึ้น
Improvement of bandwidth—เริ่มพัฒนาให้มีเครือข่าย 3G, 3.5G ในการใช้งานได้มากขึ้นในหลายพื้นที่
Centrino chip-พัฒนาความน่าเชื่อถือมากขึ้น เช่น Apple พัฒนา processor ให้กินไฟน้อยลง ทำงานได้มากขึ้น
Availability of Internet access in automobile-สำหรับในรถยนต์จะไม่ใช่แค่ navigator แต่จะมี service-based มากขึ้น
Networks-มี 3G, 4G, Wi-Fi โดยเฉพาะในประเทศผู้พัฒนามือถือเช่น ฟินแลนด์
       The Service Economy ขายบริการโดยใช้สมอง ไม่ใช้แรงงาน
       Vendor’s Push ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือพยายามจะขาย content (เช่น ringtone) เนื่องจากโอกาสเติบโตด้านมือถือเริ่มจะน้อยลงแล้ว จึงขยายธุรกิจไปด้านอื่นเพิ่มเติม
       The Mobile Workforce ใช้มือถือในการทำงานแทนการทำงานนั่งโต๊ะกับคอมพิวเตอร์

ตัวอย่าง M-Commerce
       Mobile Travel Information and Booking – ใช้มือถือในการหาข้อมูลการท่องเที่ยวและจองตั๋วหรือที่พัก
       Mobile Marketing and Advertising – ใช้มือถือในการทำการตลาดหรือโฆษณา ซึ่งปัจจุบันใช้กันแพร่หลายมาก
       Mobile Shopping – ใช้มือถือในการเลือกซื้อสินค้า
       Mobile Banking –ใช้มือถือในการทำธุรกรรมทางการเงิน

Mobile Computing Infrastructure
       WAP (Wireless Application Protocol) มาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ, PDA
       Markup languages: ภาษาที่ใช้ในการเขียน HTML /สร้างหน้าเว็บ ได้แก่ WML, XHTML
       Mobile Emulators ซอฟท์แวร์ที่ช่วยให้สามารถใช้โปรแกรมหรือเกมส์ได้
       Microbrowsers ได้แก่ Android, Safari, IE mobile, Firefox mobile เป็น browser ที่สามารถใช้ได้ในมือถือ
       HTML5 พัฒนาโดย Apple ซึ่งจะนำมาใช้แทน Flash player โดยจะไม่ต้องดาวโหลดใหม่หรืออัพเดทตลอดเวลา

ตัวอย่างเทคโนโลยีมือถือ
3G สำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เพื่อที่จะออก Package ใหม่ๆให้ผู้ใช้บริการ
WIMAX คล้ายๆ Wireless แต่จะใช้เสาไฟฟ้าใหญ่ๆ สามารถส่งสัญญาณ WI-FI ได้ทั่วเมือง ยังไม่เข้ามาในไทย เพราะยังมีราคาสูงอยู่
RFID เป็น Chip ที่ใช้ในมือถือ สามารถใช้เป็น wallet ในการชำระค่าสินค้าได้เลย
Operating system: Android OS พัฒนาโดย Google คือพัฒนาแค่ตัวซอฟท์แวร์แล้วให้มือถือแบรนด์ต่างๆเช่น Samsung นำไปใช้, iPhone OS พัฒนาโดย Apple, BlackBerry OS พัฒนามาใช้ในธุรกิจ แต่เมืองไทยนำมาใช้แชทมากกว่า
ITunes Ecosystem: Apple ชนะ product อื่นๆ ที่ตัว contents กล่าวคือ Apple ไม่ได้ขายมือถือเพียงอย่างเดียว แต่ขายพวก applications, eBooks และเพลงผ่าน Appstore และ ITunes ด้วย ซึ่ง Contents พวกนี้ราคาไม่แพง เช่น เพลงราคาเพียง 0.99 เหรียญ ปัจจุบัน 66% ของเพลงทั้งหมดขายได้ผ่าน ITunes โดย Apple ก็จะได้รับส่วนแบ่งกำไรด้วย
Mobile application in sports ต่อยอดธุรกิจมือถือไปยังผลิตภัณฑ์ด้าน sports ที่เป็นที่รู้จัก เช่น Nike ก็จะเพิ่มช่องที่เก็บข้อมูลและสามารถเชื่อมต่อกับ iPod ได้ รวมทั้งออกแบบ application ที่จะช่วยบอกว่าวิ่งไปกี่ไมล์ กี่ Calories แล้ว ทำให้ Nike สามารถอัพราคารองเท้ารุ่นนั้นได้ และ Apple ก็สามารถขาย app ได้
Location-Based Services and Commerce สามารถติดตามผู้ใช้ได้ว่าอยู่ที่ไหน และสามารถส่งโปรโมชั่นให้ผู้ใช้ได้ด้วย
GPS บอกสถานที่ว่าอยู่ที่ไหนในขณะนั้น รวมทั้งสามารถบอกเส้นทางและระยะเวลาในการเดินทางไปยังจุดหมายที่ต้องการไปได้
Foursquare บอกเพื่อนใน social network ว่าตนเองอยู่ที่ไหน ซึ่งปัจจุบันธุรกิจเริ่มใช้ประโยชน์จากการ check-in ของลูกค้าเป็นการโฆษณาร้านค้าให้กับเพื่อนของลูกค้าไปในตัว โดยอาจให้โปรโมชั่นกับลูกค้าที่มีความถี่ในการ check-in สูง ซึ่งก็จะช่วยดึงดูดทั้งลูกค้าเดิมให้กลับมาบ่อยๆ และสามารถสร้างลูกค้าใหม่ได้ด้วย
Angry Birds เกมสำหรับเล่นใน iPhone, iPod, iPad เมื่อเกมเป็นที่นิยม เริ่มมีการขยายธุรกิจออกไปโดยทำตุ๊กตา และปลอก iPhone ออกมาขาย
Presentation:
Mobile Robot
หุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ (Mobile robot) คือ หุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายไปมาได้อย่างอิสระ สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้ หรือมีการเคลื่อนที่ไปมาในสถานที่ต่างๆได้ ซึ่งประโยชน์และความสามารถของหุ่นยนต์ คือ สามารถทำงานต่าง ๆ ที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้จำนวนมาก ทั้งในด้านการแพทย์ เช่น เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยทำการผ่าตัดคนไข้ เนื่องจากหุ่นยนต์นั้นสามารถทำงานในด้านที่มีความละเอียดสูงที่เกินกว่ามนุษย์จะทำได้ นอกจากนี้ยังนำมาใช้ประโยชน์ในด้านงานวิจัย ในด้านอุตสาหกรรม ด้านความมั่นคง และด้านความบันเทิง ซึ่งโดยรวมแล้วหุ่นยนต์เหล่านี้จะช่วยลดต้นทุนแรงงานได้
 
Virtual World
โลกเสมือน (Virtual World) คือ การจำลองสภาพแวดล้อม ที่สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้หลายคน พร้อมๆ กัน ผ่านเครือข่ายออนไลน์ มีคุณลักษณะทั่วไป 6 ข้อดังนี้
1. Share Space: ผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกัน
2. Graphical User Interface: โลกเสมือนจะใช้ภาพในการนำเสนอ โดยอาจจะเป็นภาพ 2 มิติหรือ 3 มิติก็ได้
3. Immediacy: มีการตอบสนองเกิดขึ้นทันที
4. Interactivity: ผู้ใช้สามารถสร้าง พัฒนาและเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ต้องการในโลกเสมือนได้เอง
5. Persistence: สถานที่หรือข้อมูลต่างๆ ในโลกเสมือน จะยังคงมีอยู่ต่อไป ถึงแม้ว่าผู้ใช้จะไม่ได้ log in เข้าสู่ระบบ            
6. Socialization/Community: ส่งเสริมให้เกิดการรวม กลุ่มของผู้ใช้เป็นสังคมย่อยๆ เช่น ทีม คลับ เพื่อนบ้าน เป็นต้น
ปัจจุบันโลกเสมือนได้ถูกนำมาใช้งานในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Second Life โดยจัดทำเป็นเว็บไซต์โลกเสมือนซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับเว็บไซต์สังคมออนไลน์ตรงที่ผู้ใช้สามารถสร้างโลกอย่างที่ต้องการ ผู้ใช้กำหนดความเป็นตัวตนด้วยตนเอง ซึ่งเรียกว่า Avatar

E-Book Reader

E-Book Reader หรือ E-Reader คือ อุปกรณ์ที่ใช้อ่านหนังสืออิเลคทรอนิคส์หรือ E-Book ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สะดวกในการพกพา และสามารถอ่านได้ทุกที่ แทนที่หนังสือกระดาษที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากหนังสือต่างๆ ให้อยู่รูปของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ลักษณะที่ตอบโต้กันได้ (Interactive) และการเชื่อมโยงแบบไฮเปอร์เท็กซ์ สามารถทำบุ๊คมาร์กและหมายเหตุประกอบตามที่ผู้ใช้ต้องการได้ โดยอาศัยพื้นฐานของหนังสือเล่มเป็นหลัก มีข้อดีดังนี้
1. ทำให้การอ่านหนังสือจะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เพราะ E-Reader มีความสามารถที่จะแสดงผลด้วยภาพ ข้อความ เสียง และมีภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย
2. การกระจายสื่อทำได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางกว่าสื่อที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ เพราะการส่ง Content จำนวนพันๆ หน้าสามารถทำได้เร็วกว่าที่จะต้องไปถ่ายเอกสารหนังสือทั้งเล่ม ซึ่งบางทีก็ไม่ชัด และเสียเวลา
3. E-Reader เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะไม่ต้องใช้กระดาษในการผลิต
4. ลดต้นทุนในการผลิต เช่น ไม่ต้องใช้กระดาษ ไม่เปลืองหมึกพิมพ์ ลดขั้นตอนการจัดส่ง ทำให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ถูกกว่าหนังสือที่เป็นกระดาษ
5. เปิดโอกาสให้นักเขียนใหม่สามารถแสดงผลงานได้ง่ายขึ้น
6. เกิดห้องสมุดเคลื่อนที่ E-Library และ E-Book Store ทำให้ธุรกิจเกิดการแข่งขันสูง แข่งกันทำ Content ต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น
7. ทำสำเนาได้ง่ายและสามารถ Update ได้รวดเร็ว
8. มีความทนทาน สะดวกต่อการเก็บรักษา
9. สร้างความสะดวกสบายในการหาซื้อ
อย่างไรก็ตาม E-Reader ในปัจจุบันนี้ ยังไม่แพร่หลายนักและยังมีราคาสูงอยู่

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

AI613 Lecture: Class 06 (14/12/2010)


E-Business and E-Commerce
B2C คือการทำการค้าระหว่างหน่วยธุรกิจกับลูกค้ารายย่อย
B2B คือการทำการค้าระหว่างหน่วยธุรกิจด้วยกัน
B2G คือการทำการค้าระหว่างธุรกิจกับรัฐบาล
Dell ใช้กลยุทธ์ B2B เป็นกลยุทธ์สำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร เนื่องจาก B2B จะทำให้ได้ตลาดที่ใหญ่กว่า B2C จึงสามารถสร้างรายได้ให้กับกิจการได้มากกว่า โดยที่รายการค้าระหว่าง B2B จะมีปริมาณมากกว่ารายการค้าระหว่าง B2C เนื่องจาก B2B มักเป็นการขายไปถึงองค์ประกอบย่อยหรือวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ ส่วน B2C จะเป็นการค้ารายการเดียวคือ สินค้าผลิตเสร็จ
Ebay เป็นเว็บไซต์ซื้อขายสินค้า ผู้สนใจสามารถเข้าไปประมูลราคาสินค้าได้ ทำให้ผู้ขายสามารถขายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากมี Information Asymmetry กำไรจึงค่อนข้างดี
Amazon เป็นว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเริ่มต้นจากการขายหนังสือก่อนเพราะไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะ ต่อมาเปลี่ยนเป็นขายสินค้าทุกอย่าง Amazon ประสบความสำเร็จเนื่องจากการใช้กลยุทธ์ Long tail ซึ่งส่วนใหญ่เวลาคนซื้อหนังสือก็จะซื้อแค่หนังสือที่ติดอันดับขายดี เช่น Top 50 ส่วนหนังสืออื่นๆอีกมากมายที่ไม่ติดอันดับ ก็จะไม่ได้รับความสนใจเพราะร้านหนังสือแบบหน้าร้านทั่วๆไปไม่มีพื้นที่พอที่จะวางขายหนังสือเหล่านั้น แต่การขายทางอินเตอร์เน็ตสามารถทำให้คนเข้าถึงสินค้าประเภทนี้ได้
วัตถุประสงค์ของ E-Commerce คือทำกระบวนการทางธุรกิจให้เป็นไปแบบอัตโนมัติให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเฉพาะในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องใช้คนเข้ามาเกี่ยวข้อง
เทคนิคการใช้ E-commerce เช่น
Affiliate marketing การโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตผ่านโลโก้หรือแบนเนอร์
bartering online (ยื่นหมูยื่นแมว) การแลกเปลี่ยนข้อมูลออนไลน์
E-Auctions การประมูลออนไลน์ เช่น Ebay
ประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี E-Commerce
  • สำหรับองค์กร คือ ทำให้สามารถสร้ายยอดขายได้มากขึ้น เนื่องจากสามารถติดต่อลูกค้าได้สะดวกมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังมีจำนวนกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น
  • สำหรับสังคม  ทำให้คนได้พบปะเจอกันได้มากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
  • สำหรับลูกค้า คือ ทำให้สามารถซื้อขายอยู่ที่บ้าน ไม่เสียทั้งทรัพยากรเวลา และค่าเดินทาง
อย่างไรก็ตาม E-commerce ก็ยังมีข้อจำกัดในด้านมาตรฐานการใช้เทคโนโลยีที่ของแต่ละคน ซึ่งอาจมีความแตกต่างกัน ปัญหาด้านความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงอาจมีไวรัสเกิดขึ้นได้

Presentation:
Health informatics 
คือการนำข้อมูลที่เกี่ยวกับทางด้านสุขภาพมาผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากร, เครื่องใช้ต่างๆ และนำมาพัฒนาปรับปรุงวิธีการได้มา, การเก็บรักษาและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกี่ยวสุขภาพ ซึ่งถูกนำไปพัฒนาใช้งานในหลายด้านไม่ว่าจะเป็น Nursing, Clinical care, Dentistry, Pharmacy, Public health หรือ (Bio) Medical research
ระบบสารสนเทศสุขภาพ (Health Information) แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1.       ข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม
2.       ข้อมูลด้านสถานสุขภาพ
3.       ข้อมูลด้านทรัพยากรสาธารณสุข
4.       ข้อมูลด้านกิจกรรมสาธารณสุข
5.       ข้อมูลด้านการบริหารจัดการ

การนำข้อมูลด้านสุขภาพ มาเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศนั้น ช่วยให้การบริการด้านสาธารณสุขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดความผิดพลาด เพิ่มคุณภาพการรักษาพยาบาล และสามารถวางแผนการใช้ทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นทางด้านบุคคลหรืออุปกรณ์ได้เพียงพอต่อความต้องการ

web 2.0
มีคุณลักษณะหลักๆ ดังนี้
1. "network as platform" คือจะต้องให้บริการหรือสามารถใช้งานผ่านทาง "web browser" ได้ 
2. ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของข้อมูลบน "website" นั้น สามารถดำเนินการใดๆ ก็ได้กับข้อมูลนั้น  
3. ให้ความสำคัญกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะมีส่วนร่วมต่อเว็บไซต์มากขึ้น ไม่ใช่แค่เข้ามาชมเว็บไซต์ที่เจ้าของเว็บจัดทำขึ้นเท่านั้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถสร้าง content ของเว็บไซต์ขึ้นมาได้เองหรือสามารถ tag content ของเว็บไซต์ (คล้ายๆการกำหนด keyword ที่เกี่ยวข้องกับ content โดยผู้เข้าชมเว็บไซต์เป็นผู้กำหนดขึ้น) ตัวอย่างเช่น Digg, Flickr, Youtube , Wiki 
4. Web 2.0 application จะมีคุณสมบัติที่เรียกว่า RIA (Rich Internet Application) นั่นคือ Web 2.0 application จะมี user interface ที่ดียิ่งขึ้น เช่น คุณสมบัติ drag & drop ซึ่งเราใช้กับใน desktop application ทั่วๆไปก็สามารถใช้ได้บนเว็บเช่นกัน โดยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการสร้าง RIA เช่น AJAX, Flash
5.มีการพัฒนาและการโต้ตอบระหว่างผู้ให้บริการ และผู้ใช้งาน แทนที่จากระบบเว็บแบบเก่า ที่เป็นลักษณะของการให้บริการอ่านอย่างเดียว
6.มีความรวดเร็ว และความง่ายดายของการส่งข้อมูล แทนที่แบบเก่าที่ต้องจัดการผ่านเซิร์ฟเวอร์  
7.มีคุณสมบัติที่เรียกว่า mash-up คือการนำฟังก์ชั่นการใช้งานจากเว็บหลายๆที่ๆมาผนวกเข้าด้วยกัน
ตัวอย่างเว็บไซท์เช่น facebook, youtube และ Wikipedia เป็นต้น
  
Cloud Computing
Cloud computing เป็นแนวคิดการให้บริการด้าน IT รูปแบบใหม่ กล่าวคือเป็น Model ที่ทำให้สามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายตามที่ต้องการ (On-Demand Network Access) ได้อย่างสะดวก โดยจะสามารถเข้าถึงทรัพยากรในการประมวลผลส่วนกลางอันได้แก่ Network, Server, Storage, Application และ Services โดย Model ดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนต้องการการปฏิสัมพันธ์จากผู้ให้บริการ (service provider) ในระดับที่ต่ำ

Benefits of Cloud Computing

·        Cost Savings : องค์กรสามารถลดต้นทุน ตลอดจนเงินลงทุนด้าน IT ต่างๆ นอกจากนี้ยังลดค่าใช้จ่ายด้านการ maintenance ระบบ IT รวมไปถึงจำนวนพนักงานด้าน IT ที่ลดลง
·        Scalability: ผู้ใช้บริการ Cloud Computingสามารถปรับเปลี่ยนขนาดของประสิทธิภาพของระบบประมวลผลได้ ตามลักษณะการใช้งานจริง สามารถเรียกใช้ความสามารถจากผู้ให้บริการได้ทุกเมื่อทุกเวลา
·        Access to Top-End IT Capabilities: มีโอกาสที่จะเข้าถึงเทคโนโลยีที่หลากหลาย ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้มากกว่าในสภาพแวดล้อมแบบเดิม 
·        Focusing on Core Competencies: บริษัทสามารถนำทรัพยากรที่จะนำไปลงทุนด้าน IT ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน พนักงาน ตลอดจนเวลา ไปมุ่งเน้นพัฒนา ด้านหลักที่เป็น Core Competencies ขององค์กรได้มากขึ้น
·        Efficient asset utilization: ผู้ให้บริการสามารถติดตั้งอุปกรณ์ในทำเลที่ตั้งที่ห่างไกลซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการตั้งกิจการในย่านธุรกิจ แต่สามารถนำเสนอบริการให้แก่ลูกค้าได้ทั่วโลก อีกทั้งหน่วยจัดเก็บข้อมูล ส่วนประมวลผล และ Application ถูกแยกออกจากส่วนผู้ใช้ ดังนั้นผู้ให้บริการจึงสามารถดูแลรักษาระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ



วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

AI613 Lecture: Class 05 (07/12/2010)

Information Technology Economics
Justifying investment: California State Automobile Association
เป็นกรณีศึกษาในเรื่องของการตัดสินใจว่าองค์กรควรจะลงทุนใน project IT หรือไม่ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนผลประโยชน์ (Cost-benefits Analysis) โดยบริษัทมีปัญหาที่โครงสร้างพื้นฐาน IT กำลังจะหมดอายุการใช้งาน จึงได้ลงทุนใน IT ได้แก่ Web farms ทำให้บริษัทมีรายได้กลับมา 7.5 ล้านภายใน 1 ปี ซึ่งนอกจากจะคำนึงถึงผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินแล้ว ยังต้องคำนึงถึง intangible benefits ด้วย เช่น การให้บริการที่เร็วขึ้น ดีขึ้น ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

Productivity Paradox
เป็นความขัดแย้งระหว่าง Computer power ที่เพิ่มขึ้น แต่ productivity ที่ได้กลับมีการเติบโตที่ช้าลงในระดับเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ทำให้เป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะไม่เห็นว่า productivity ที่เกิดจาก IT เกิดขึ้นอยู่ในส่วนไหน เนื่องจากความยากในการวัด หรืออาจเกิดจากการที่ Productivity ที่เพิ่มขึ้นถูกหักกลบกับ productivity ของแผนกอื่น หรือการที่บางระบบใช้เงินลงทุนสูง แต่ได้กำไรช้า หรือการใช้งาน IT system จริงๆอาจต่างจากแผนที่เราวางไว้ ซึ่งอาจมีเรื่องกฎหมาย หรือแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ performance ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้
ดังนั้นจึงควรมอง Productivity ในระดับองค์กรก็เพียงพอ และมีการประเมินต้นทุนและผลประโยชน์อย่างเหมาะสม โดยวิเคราะห์ถึงผลกระทบโดยตรง (direct impact) เช่น ลดต้นทุนในการขนส่ง รายได้เพิ่มขึ้น เป็นต้น และ second order impact เช่น ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น ความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีทำให้ลูกค้าสนใจใช้บริการมากขึ้น เป็นต้น

Evaluating IT Investments: Needs, Benefits, Issues, and Traditional Methods
ในสมัยก่อนการลงทุนในระบบ IT นั้นได้รับความนิยมอย่างมาก หลายบริษัทลงทุนไปโดยไม่ได้มีการวิเคราะห์ทางการเงินก่อน ส่งผลให้เกิดการขาดทุนหลังจากที่ลงทุนไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้น CIO จึงควรสื่อสารถึงมูลค่าของโปรเจ็กท์ IT อย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้ได้รับการยอมรับอนุมัติให้ลงทุนได้ โดยอาจคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
- การแข่งขันที่รุนแรง อาจมีความจำเป็นต้องลงทุน
- อาจทำให้ราคาหุ้นขึ้น หากมีการลงทุนใน project ใหญ่ๆ
- ต้องมีการประเมินอย่างสม่ำเสมอหลังจากติดตั้ง project แล้ว
- การประเมินความสำเร็จของ project อาจนำไปสู่การประเมินโบนัสของพนักงาน
- ความสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร
Project ที่ไม่จำเป็นต้อง justify สามารถลงทุนได้เลย
1. project ที่ต้นทุนต่ำมาก ลงทุนได้เลย ไม่ต้องเสียเวลา justify
2. project นั้นจัดว่าเป็น infrastructure หรือจำเป็นต้องดำเนินงาน หรือมีกฎหมายบังคับ
3. project นั้นเป็นงานที่ผู้บริหารระดับสูงสั่งให้ทำ
4. project ที่ข้อมูลในการตัดสินไม่เพียงพอ อาจต้องใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพในการพิจารณาแทน

Difficulties in measuring productivity & performance gains
1.จะวัดและประเมินอย่างไรดี  เช่น second-order impact สามารถวัดได้ยาก อาจแก้ปัญหาโดยใช้ KPI จะทำให้วัดได้ง่ายขึ้น
2. Time lags คือ productivity เกิดขึ้นช้า วัดผลไม่ได้ในทันที อาจต้องวัดหลังจากที่ระบบเริ่มดำเนินงานไปแล้วพักหนึ่ง จึงจะวัดผลได้ และควรจะทำการวัดอย่างสม่ำเสมอ
3.วัดความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนและผลการดำเนินงานได้ยาก  

Intangible benefits
เป็นผลประโยชน์ที่ยากที่จะวัดเป็นตัวเงินได้ เช่น สินค้าออกสู่ตลาดเร็วขึ้น และความพึงพอใจของลูกค้า เป็นต้น สามารถจัดการได้โดยประมาณประโยชน์ที่ไม่มีตัวตนนี้เป็นตัวเงินอย่างคร่าวๆ ซึ่งหากประเมิน Intangible benefit สูงไป ก็อาจทำให้สูญเสียโอกาสในการนำเงินไปลงทุนในส่วนอื่น หรือถ้าประเมินต่ำไปก็อาจจะทำให้พลาดโอกาสลงทุนใน project นั้น นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นได้แก่
- Think broadly and softly มองหา benefit อื่นๆ เช่น ลูกค้ามีความซื่อสัตย์กับองค์กรมากขึ้น
- Pay your freight first มองผลประโยชน์ระยะสั้นๆก่อน เช่น ที่คิดว่าจะได้ในปีนี้แน่นอน
- Follow the unanticipated มอง intangible benefits ที่อาจเกิดขึ้นในทุกๆทาง อาจให้พนักงานช่วยมอง ช่วยประเมิน

Costing IT Investment
-fixed cost ต้นทุนในการติดตั้งระบบ IT เพื่อให้เริ่มใช้งานได้ มักจะเกิดต้นทุนนี้ในปีแรก
-transaction cost เกิดขึ้นหลังจากได้วางระบบเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ ต้นทุนในการค้นหาสินค้า ต้นทุนในการได้ข้อมูลมา ต้นทุนในการต่อรอง ต้นทุนในการตัดสินใจว่าอนุมัติการซื้อ และต้นทุนในการติดตาม

Revenue models generated by IT & web
-sales รายได้จากการขาย เช่น เปิด e-commerce เอง ได้เงินจากการขายสินค้า
-transaction fees เช่น E-bay จะได้เงินส่วนหนึ่งตอนที่มีการซื้อขายสินค้ากันใน web
-subscription fees เช่น Premium accounts ต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้รับบริการที่ดีกว่า
-advertising fees เช่น ค่าโฆษณาจาก Banners
-affiliate fees แตกต่างจาก Advertising fees ตรงที่จะต้องขายสินค้าได้ผ่าน Banner นั้นๆ

Cost-Benefit Analysis
การทำ Cost-Benefit Analysis มี 2 ขั้นตอน ได้แก่
1.ระบุและประมาณการ Cost และ benefit ที่เกิดขึ้นทั้งหมด
2.วิเคราะห์ให้เป็น Common unit คือเป็นตัวเงินชัดเจน
Costs ได้แก่ Development costs (ค่าจ้างคนพัฒนาระบบ) Setup costs (ค่า hardware software) และ Operational costs (ค่าใช้จ่ายคนที่มา operate ระบบ หรือค่าไฟ ค่ากระดาษ เป็นต้น)
Benefits ได้แก่ Direct benefits (เกิดจากระบบโดยตรง เช่น ลดกระดาษ หรือ transaction เร็วขึ้น) Assessable benefits และ Intangible benefits (ซึ่งควรประเมินให้เป็นตัวเงิน เช่น ประเมินว่าลูกค้าพอใจเพิ่มขึ้น จะทำให้รายได้เพิ่มขึ้น 1% เป็นต้น)

Cost-Benefit Evaluation Techniques
การประเมินรายได้และรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจลงทุนใน Project ต่างๆ ซึ่งมี techniques หลายวิธี ดังนี้
-Net profit สนใจกำไรตอนสุดท้าย แต่ไม่ได้คำนึงถึงเงินลงทุน และเวลา
-Payback period สนใจที่ระยะเวลาในการคืนทุน แต่ไม่ได้คำนึงถึง Net profit ที่เกิดขึ้น
-Return on Investment (ROI) ใช้สูตรคำนวณออกมา ข้อเสียคือ ไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าตามเวลา
-Net present value (NPV) สะท้อนมูลค่าของเงินตามเวลา แต่การใช้ Discount rate ต่างกัน ก็อาจทำให้การตัดสินใจแตกต่างกันได้
-Interest rate of return (IRR) คำนวณโดยให้ NPV เป็น 0

Advanced Methods for justifying IT investment and using IT metrics
นอกจากเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ยังมีวิธีอื่นที่ช่วยในการตัดสินใจลงทุนในระบบ IT ได้อีก ตัวอย่างเช่น
- TCO (total cost of ownership) มองถึงต้นทุนตลอด lifetime ของการใช้ ITและนำไปเทียบกับ TBO (total benefits of ownership) เพื่อดู payoff
- Benchmarks  เป็นการเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม หรือ ตัวเปรียบเทียบที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้น
- Balanced scorecard method มองผลทางด้านอื่นนอกจากการเงินด้วย ซึ่งมีทั้งสิ้น 4 มุมมอง ดังนี้
1.       Financial perspectives เพิ่มกำไร รายได้ ลดต้นทุน
2.       Customer perspectives  ประเมินความพึงพอใจของลูกค้า
3.       Internal Process perspectives ประเมิน Productivity ทักษะพนักงาน และอื่นๆ
4.       Learning and Growth perspectives ให้ความสำคัญกับบุคลากรในองค์กร

Failures & Runaway projects ได้แก่
- Projects ที่ยากจะจัดการ และมีต้นทุนสูงเมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้
- Projects ที่มีโอกาสล้มเหลวสูงหรือล้มเหลวไม่เป็นไปตามเป้าหมายเดิมในด้านลักษณะ เวลา หรือต้นทุน
- Projects ที่อาจเกี่ยวข้องกับประเด็นด้านเศรษฐกิจ เช่น ทำ cost-benefit ไม่ถูกต้อง หรือขาดแคลนเงินทุน

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

AI613 Lecture: Class 04 (30/11/2010)

Outsourcing, offshoring, and IT as a Subsidiary 
เหตุผลที่เรา Outsource 
  • เพื่อที่เราจะได้ Focus ไปที่ธุรกิจหลักของกิจการได้เต็มที่ งานสนับสนุนอื่นๆก็ outsource ไป
  • ช่วยลดต้นทุนที่จะต้องไปลงทุนทำงานในส่วนนั้นเองด้วย จากการ Outsource ให้บริษัทอื่นทำให้ ซึ่งเขาอาจจะมี Economy of scale อยู่แล้ว 
  • เพื่อพัฒนาคุณภาพของงานที่ Outsource เพราะ outsourcer จะมีความเชี่ยวชาญมากกว่า
  • เป็นการเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานที่ Outsource เพราะถ้าเราทำเองด้วยความที่เราไม่เชี่ยวชาญ งานก็อาจจะล่าช้าได้
  • เกิดนวัตกรรมรวดเร็วมากขึ้น
สายงาน IT ที่สามารถ outsource ได้ ได้แก่ Application maintenance, โทรคมนาคม/เครือข่ายภายใน, และ PC maintenance เช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์ของคณะพาณิชยฯ ม.ธ. ก็ใช้วิธีการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อมีปัญหา ผู้ให้เช่าก็จะเข้ามาดูแลให้ เป็นต้น โดยในการ outsource นั้นสามารถทำได้ในทุกสายงาน แต่ก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมด้วย
การ Outsource สามารถเลือกที่จะ outsource จากบริษัทเดียว หรือหลายบริษัทก็ได้ ซึ่งในยุคหลังๆนั้น นิยม outsource หลายๆบริษัท เนื่องจากบริษัทเดียวอาจไม่ได้เชี่ยวชาญทุกด้าน แต่การ outsource หลายๆบริษัทจะต้องคอยติดตามการทำงานทีละบริษัท

ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการ outsource
  • Shirking – การที่ vendor หลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำตามสัญญาแต่เรียกร้องขอรับเงินเต็มจำนวน
  • Poaching – การที่ vendor เอางานของเราไปใช้กับคนอื่น/บริษัทอื่นด้วย
  • Opportunistic repricing – เมื่อมีการทำสัญญาระยะยาว vendor มาขอ charge เงินเพิ่ม หรือขยายระยะเวลาเพิ่มเติมในภายหลัง
ต้นทุนแฝงในการ outsource ได้แก่ ต้นทุนในการวิเคราะห์เปรียบเทียบบริษัท outsource ต่างๆ ต้นทุนการทำสัญญา ค่าส่งมอบงานและความรู้ไปให้ outsourcer  ต้นทุนการส่งคนของเราไปร่วมงานและบริหารความสัมพันธ์ในการ outsource และต้นทุนในการส่งมอบงานกลับมา

กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงในการ outsource
ก่อนอื่นต้องรู้ความต้องการ IS และ IT ของเราก่อน จากนั้นก็แบ่ง project ออกเป็นเฟสๆ เลือกทำให้เสร็จเป็นเฟสๆไป นอกจากนี้ ต้องมีการให้รางวัลเป็นแรงจูงใจ เพื่อให้เขาทำงานได้ถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ ก็ควรเลือกทำสัญญาระยะสั้น และมีการประเมินสัญญาใหม่ๆอยู่เสมอ อีกทั้งยังควรเข้าไปช่วยดูแลการ outsource หลายชั้น (Subcontracting) ด้วย ที่สำคัญคือการเลือก outsource ไม่ควร outsource ทั้งหมด ควรเลือกส่วนงานที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก และไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยต่อตัวองค์กรเอง

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการทำ offshore outsourcing (Outsource ไปต่างประเทศ)  ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการเมืองในประเทศนั้นๆ คุณภาพของเครือข่าย โครงสร้างพื้นฐาน และความเสี่ยงในด้านต่างๆ เช่น ความสามารถด้าน IT ทุนมนุษย์ และเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยงานที่ไม่ควร offshore outsourced คืองานที่ยังไม่มี process ชัดเจน หรือเป็นสายงานหลักขององค์กร งานที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหลายอย่างร่วมกัน

Acquiring and developing business applications and infrastructure 
ประเด็นที่ต้องคำนึงถึงในการซื้อ/การได้มาซึ่ง IT Applications
  • ความหลากหลายทั้งทางด้านขนาดและชนิด
  • Applications มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
  • Applications อาจเข้าไปมีส่วนในหลายๆคู่ค้าทางธุรกิจได้
  • การได้มาซึ่ง IT applications ไม่ได้มีเพียงวิธีเดียว
  • ความหลากหลายของ IT applications ทำให้มีวิธีการได้มาที่หลากหลายเช่นกัน
กระบวนการในการได้มาซึ่ง IT Applications
  1. วางแผน ระบุ และอธิบายระบบ IT ต้องสอดรับกับแผนธุรกิจโดยรวม และมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนผลประโยชน์ด้วย
  2. สร้างสถาปัตยกรรม IT-วางแผนสำหรับการจัดโครงสร้างพื้นฐานและ applications สำหรับโครงการ IT
  3. เลือกวิธีการได้มาซึ่ง IT applications ว่าจะสร้างเอง จ้างให้เขาทำให้ ซื้อที่มีขายอยู่แล้ว เช่า เข้าร่วมเป็นพันธมิตรหรือหุ้นส่วน หรือใช้หลายวิธีร่วมกัน
  4. ทดสอบ ติดตั้ง บูรณาการ และจัดวาง IT applications ให้เหมาะสม
  5. การจัดการ ซ่อมแซมเมื่อเกิดปัญหาการใช้งาน และการพัฒนาเพิ่ม เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ทางเลือก: การเช่า VS การซื้อ
การซื้อจะช่วยประหยัดต้นทุนและเวลา เมื่อเปรียบเทียบกับการพัฒนาขึ้นมาเอง แต่จะต้องมั่นใจว่าซื้อมาแล้วใช้ได้และตรงตามที่ต้องการอย่างแน่นอน ส่วนการเช่าก็ช่วยประหยัดต้นทุนและเวลาได้เช่นเดียวกัน โดยการเช่าคือเช่าจาก outsourcer แล้วนำมาติดตั้งที่บริษัท หรือเช่าจากผู้ให้บริการ application (ASP) ที่มีแม่ข่ายอยู่ที่ศูนย์ข้อมูลของผู้ให้บริการนั้น

การเลือกวิธีการได้มาซึ่ง IT Applications 
  • ควรจะเลือกเช่า ถ้าบริษัทไม่จำเป็นต้องมีทรัพยากร IT ในธุรกิจหลักสำคัญของบริษัท ได้รับการสนับสนุนด้าน IT อย่างจำกัด และมีการเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านคอมพิวเตอร์รวดเร็ว
  • ควรเลือกวิธีการซื้อ ถ้ามีทีมงานผู้มีประสบการณ์ด้าน IT และความต้องการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ค่อนข้างอยู่ตัว
  • ควรเลือกที่จะพัฒนาขึ้นเอง ถ้า application มีลักษณะเฉพาะ ระบบเดิมที่มีอยู่มีการลงทุนสูง และมีความต้องการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่คงที่

IT for management
Improving performance in the Digital Economy  

Managerial issues ในการใช้ IS และ IT ได้แก่ ประเด็นด้านวัฒนธรรมและระดับโลก ด้านจริยธรรมและกฎหมาย เนื่องจากแต่ละประเทศมีวัฒนธรรม จริยธรรมและกฎหมายแตกต่างกัน เช่น การแชร์ข้อมูลส่วนบุคคล อาจกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ขององค์กร ที่อาจจะต้องมีการวัดระดับเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว ประเด็นด้านการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งผู้ใช้ออกเป็นผู้ใช้งานทั่วไป นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ และ Functional managers ประเด็นด้านการบริหารความเปลี่ยนแปลง และสุดท้ายคือประเด็นด้านการบริหารความเสี่ยง เช่น ระบบอาจจะไม่สมบูรณ์ หรือต้องการทรัพยากรมากกว่าที่วางแผนไว้ เป็นต้น